สัมผัสในการแต่งกลอน

ลักษณะของกลอนชนิดต่างๆ 

           กลอนสุภาพ บทหนึ่งมี ๔ วรรค กลอน ๒ เรียกว่า ๑ บาท หรือ ๑  คำกลอน ฉะนั้นกลอนสุภาพบทหนึ่ง จึงมี ๒ บาท หรือ ๒ คำกลอน บทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทที่สองเรียกว่า บาทโท สำหรับวรรคทั้งสี่ของกลอนยังมีชื่อเรียกวรรค ตามลักษณะการบังคับสัมผัส และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคต่างกัน ดังผังภูมิต่อไปนี้
           วรรคแรก  เรียกว่า วรรคสลับ หรือ วรรคสดับ เป็นวรรคขึ้นต้น ทำหน้าที่ส่งสัมผัสอย่างเดียวคำสุดท้ายใช้ได้ทุกเสียีง แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
           วรรคสอง เรัยกว่า วรรครับ ทำหน้าที่สัมผัสจากวรรคสลับ และส่งสัมผัสไปยังวรรครองคำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญ 
           วรรคที่สาม เรียกว่า วรรครอง ทำหน้าที่่รับสัมผัสจากวรรครับ และส่งสัมผัสไปยังวรรคส่งคำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญและตรี 
            วรรคที่สี่ เรียกว่า วรรคส่ง ทำหน้าที่รับสัมผัสจากวรรครอง และส่งสัมผัสระหว่างบทไปยังวรรครับของบทจ่อไป คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา 

กลอนอ่านทั้ง ๘ ชนิดมีลักษณะดังนี้
กลอนสี่
กลอนสี่   เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน
งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง
ดั่งดาวดั่งเดือนดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อยพิศสร้อยพิศสุง
ช่างปลอดช่างเปรื่องช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่งทรงวุ้งทรงแวง

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
ตย.กลอนสี่อื่นๆ
สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ
นี่คือตัวอย่าง……………..ท่านวางเอาไว้
กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ
มีคำสัมผัส…………………รึงรัดที่ไหน
ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ
วรรคสามก็ด้วย……………ต่างช่วยแต่งฉันท์
วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ
ที่แต่งผ่านมา………………ถือว่าพลาดอยู่
เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
๐ วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย
กลอนหก



ลักษณะคำประพันธ์
 ๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ           วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง            วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
 ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

          คำท้ายวรรคสดับกำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

     ๓.  สัมผัส
      ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
      คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
      และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
         สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
      คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข้อสังเกต     กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน
ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
กลอนหก ยกให้ คู่สอง
หาคำ งดงาม ทำนอง
สอดคล้อง ขานรับ จับวาง
หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
อกหัก รักจาก ถากถาง
โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน
ระวัง กลอนพา วารี
น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
ตรวจย้อน อักขระ วิธี
ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
กลอนเจ็ด
  กลอน ๗  เป็นบทประพันธ์ที่กำหนดให้มีวรรคละ ๗ คำ บางวรรคอาจมี ๘ คำได้ เพราะเป็นคำผสม การส่งสัมผัส คำสุดท้ายของกลอนสดับส่งไปยังคำที่ ๒ หรือที่ ๓ ของกลอนรับ คำสุดท้ายของกลอนรับส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรอง คำท้ายของกลอนรอง ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ หรือที่ ๓ ของกลอนส่ง คำสุดท้ายของกลอนส่ง ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรับในบทต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

กลอนแปด
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์
๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ      วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง       วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
          คำท้ายวรรคสดับกำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
 ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข.   สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย
กลอนเก้า
กลอน ๙ เป็นบทประพันธ์ที่กำหนดวรรคละ ๙ คำ บางวรรคอาจมี ๑๐ คำ เพราะเป็นคำผสม  การสัมผัสทั้งในวรรคและนอกวรรค ทั้งนอกบท มีอย่างเดียวกับกลอน ๘ มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

กลอนนิราศ
กลอนนิราศ คือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการเดินทางไปยังแห่งใดแห่งหนึ่งโดยรำพันถึงการจากคนที่รักไปยังแห่งนั้น และไม่จำเป็นว่าคนที่รักจะมีตัวตนจริงหรือไม่ การประพันธ์ต้องใช้ศิลปะในการรำพันให้ไพเราะกินใจผู้อ่าน  กลอนนิราศที่นิยมว่าแต่งดีได้แก่ นิราศของสุนทรภู่ เช่น  นิราศภูเขาทอง  นิราศพระบาท เป็นต้น  ส่วนนิราศเรื่องอื่นที่นับว่าไพเราะด้วยความพรรณนา เช่น  นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย  นิราศรอบโลก ของแสงทอง
        กลอนนิราศมีลักษณะบังคับอย่างกลอนทั่วไป กำหนดลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับกลอนเพลงยาว คือขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลงท้ายบทด้วยคำว่าเอย
กลอนเพลงยาว


ลักษณะกลอนเพลงยาว
            กลอนเพลงยาวเป็นกลอนที่บังคับบทขึ้นต้นเพียง ๓ วรรค จัดเป็็นกลอนขึ้นต้นไม่เต็มบท  ขึ้นต้นด้วยวรรครับในบทแรก ส่วนบทต่อๆไป คงมี ๔  วรรคตลอด  สัมผัสเป็นแบบกลอนสุภาพ ไม่จำกัดความยาวในการแต่ง แต่นิยมจบด้วยบาทคู่ และต้องลงด้วยคำว่าเอย จำนวนคำในวรรคอยู่ระหว่าง ๗-๙ คำ วัตถุประสงคืสำคัญของเพลงยาวคือใช้เป็นจดหมายโต้ตอบ ระหว่างชาย -หญิง เพลงยาวปรากฎขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ เพลงยาวพระราชนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ที่กล่าวกันว่าทรงนิพนธ์ให้แก่เจ้าฟ้าสังวาล โดยเหตุที่วัตถุประสงค์สำคัญของกลอนเพลงยาว คือใช้เป็นจดหมายรักและจบลงด้วยคำว่า"เอย"จึงเป็นที่มาของสำนวน "ลงเอย" ในภาษาไทยหมายถึงการตกลงปลงใจที่จะร่วมชีวิตคู่ ของ ชาย-หญิงส่วนชื่อ"เพลงยาว" น่าจะเกิดจากเนื้อความของจดหมายแต่ละฉบับ ที่มีขนาดยืดยาว หรืออีกประการหนึ่งอาจเกิดจากระยะเวลา ในการผูกสมัครรักใคร่ และโต้ตอบจดหมายกันจน"ลงเอย"ใช้เวลานานก็เป็นได้
            อนึ่งอาจกล่าวได้ว่า "เพลงยาว"เป็นตัวการสำคัญ ฃข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไทยสมัยก่อนไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เพราะผู้ใหญ่ไม่ส่งเสริม เนื่องจากเกรงว่าเมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว

กลอนบทละคร

กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก
         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน ๆ พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ หรือ กลอน ๙ ผสมกันตามจังหวะ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
กลอนดอกสร้อย


กลอนสักวา
ฉันทลักษณ์
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ
ตัวอย่าง
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน       ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม      อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม      ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์      ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
กลอนเสภา
กลอนเสภา เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งเพื่อใช้ขับ เพราะใช้เป็นกลอนขับ จึงกำหนดคำไม่แน่นอน มุ่งการขับเสภาเป็นสำคัญ จึงใช้คำ ๗ คำ ถึง ๙ คำ การส่งสัมผัสนอกเหมือนกับกลอนสุภาพ แต่ไม่บังคับหรือห้ามเสียงสูง ต่ำ ตามจำนวนคำแต่ละวรรค อยู่ในเกณฑ์กลอน ๗-๙ เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
กลอนเพลงชาวบ้าน
กลอนชาวบ้าน : เป็นคำคล้องจองทางกาพย์ กลอนแปดที่ชาวบ้านแต่งขึ้นหรือพูนขึ้นมีลักษณะกระทัดรัดใจความสมบูรณ์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีน้อยมาก ส่วนมากนั้นจะเป็นการผูกขึ้นในใจแล้วบอกให้ผู้อื่นรับรู้ มีการสร้างอักเตรสในหลายรูปแบบมีดังนี้ 
๑. ประเภทดุด่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น : ดังตัวอย่างในคำกลอนดังต่อไปนี้
                                "ถึงเดือนสิบปีระกาพระโคกหัก
                ทำฤทธิ์ยักษ์ชิงลามือคว้าขวาน
                ตีหัวเณรถึงแตกแหกร้าวราน
                ท่านสมภารอยู่ไม่ได้ภายนอกครอง"
วัดโคกหักอยู่ในตำบลโตนดด้วน อำเภอควนพูน จังหวัดพัทลุง นายหนู ข้าวหอมเส้อ อยู่ตำบลเคียงกันเป็นผู้แต่ง "ว่าสิริสิบตรีนำ ยิงดำหัวแบรนอบแบ้ขา" ขุนโจรดำหัวแพร ถูกจ่าตำรวจสิริ แสงอุไร กับสิบตำตรวจตรีนำ นาคะวิโรจน์ยิงตายที่บ้านหนองช้างคลอดตำบล โตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงมี พ.ศ. ๒๔๖๒ "ที่บอโดบอดวนย่านยอแดง อดกันหรอขึ้นกินสินี้พร้าวเหมอ" กล่าวถึงความอดยากของชาวบ้านบ่อโด บ่อควน บ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้แต่งโดยนายแดง ชาวอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นต้น
๒. ประเภท ประชดประชัน เสียดสี เปรียบเปรย
                ผักดีปลาดีหวาย (ถวาย) ชีวัดนอก ขี้ไม่ออกเยี่ยวไม่ออกบอกชีวัดใน" วัดปรางหมู่" ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงโดยมี ๒ วัด วัดปรางหมูในมีหลวงพ่อส่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นหมอยา หมอดูฤกษ์ดูยาม เป็นช่างโลงศพ จรวด ดอกไม้ อ้ายตูม มีคนมาหาเกี่ยวกับงานศพ หรือยามเจ็บไขอยู่เสมอ วัดปรางหมู่นอกอยู่ทางทิศตะวันออกห่างกันประมาณ ๒ เส้น (ปัจจุบันมีถนนสางควรขนุนพัทลุงผ่านกวาง สมัยท่านครูอินทโมฬีเจ้าอาวาส ได้มีคนนำภัตตาหาร ไปถวายไม่ขาดหลวงพ่อเลยแต่งกลอนประชดชาวบ้าน ความว่า
"กลองหนังโนรา ดังกว่ากลองวัด"
(เป็นการประชดประชันชาวบ้านที่ไปสนใจดูโนราดูหนังตะลุง นั้นหมายถึงว่าการเข้าวัดในเฉพาะที่จะทำบุญทำทานเท่านั้น)
๓. ประเภทความเชื่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
                                "ห้ามเผาผีวันศุกร์
                ห้ามโกนจุกวันอังคาร
                ห้ามแต่งงานวันพุธ"
(ตามลักษณะความเชื่อดังกล่าวมีความเชื่อว่าถ้าทำงานในวันที่ห้ามก็จะเกิดโทษ หรือมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งและถือปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้) ตัวอย่างเช่น
                วันทักทิน เป็นวันร้าย ห้ามมิให้ทำการ
                วันทักทิน ใครทำการใด เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่
                จะเกิดโทษ ได้แก่ วันอาทิตย์ขึ้น ๑ ค่ำ แรม ๑ คำ วันจันทร์ขึ้น
                ค่ำแรม ๔ ค่ำ วันอังคารขึ้น ๕ ค่ำ แรม ๕ ค่ำ วันพุธขึ้น
                 ๙ ค่ำ แรม ๙ ค่ำ วันพฤหัสบดี ๖ ค่ำ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ขึ้น
                 ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ วันเสาร์
                 ๙ ค่ำ แรม ๙ ค่ำ * ตัวอย่าง (ในการคบเลือกคน) จีนคำ เทศขาว สาวพุงใหญ่ ไทยตาเหล่ เข้หวงกั้ง ห้ามไปพบประสมาคมบุคคลประเภทนี้ ไว้ใจไม่ได้ และห้ามเข้าใกล้จะเข้ที่มีหางกุด ปลายหมอ เป็นจระเข้ที่ดุร้าย ตัวอย่างการทำกิจกรรม ("การนาค ซากผี การนางชีสิบเท่า การบ่าวสารได้บุญหวา") คือเชื่อกันว่า การไปช่วยงานแต่งงานนั้นจะได้อนิสงฆ์ มากกว่าที่จะไปช่วยด้านอื่น ๆ 
๔. ประเภทตีเตือนใจ
                "เมื่อแมวอยู่หนูเปรียบเงียบสงัดเมื่อแมวลัดหลีกไปไกลสถานฝ่ายพวกหนู กรูกราววิ่งร้าวรานเสียงสะท้อนหวั่นไหวอยู่ในครัว
(ผู้แต่ง คือ มหาสมนึก ครูสอนบาลีวัดสุวรรณ แต่งขึ้นเพื่อเตือนสติให้นักเรียนอยู่ในความเรียบร้อย เมื่อไม่มีครูสอน)
                                "ปากบ่อเล็กกินได้ไม่รู้เบื่อ
                กินสิ้นเรือสิ้นบางสิ้นไม้กอ
                กินเป็นเงินเป็นทองลายคล้อจอง
                กินวัวมงลูกเต้ากินข้าวปลา
(ผู้แต่ง นายแดง ชาวอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นผู้แต่งเพื่อเตือนสติในการเล่นการพนันเป็นจุดให้หมดเนื้อหมดตัว) ฯลฯ
                ประเภทอุปมาปไมย เป็นข้อคิดเตือนใจ "เยี่ยวเหมือนเสียงปี่
                ขี้เหมือนยอดเทริด
                แสดงถึงผู้นั้นมีสุขภาพสมบูรณ์
                ร้อนเหมือนไฟเดือนห้า
                ร้ายเหมือนฟ้าเดือนหก
                หมายถึงร้อนมากและร้ายมาก 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นคำ

การเขียนประกาศ