การสร้างคำ


การสร้างคำ
          เริ่มต้นจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน แล้วเกิดคำลักษณะใหม่ 3 ลักษณะ ได้แก่
1.คำประสม
          คือ การนำคำมูลที่มีความหมายแตกต่างกัน ตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมารวมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิม ซึ่งคำที่นำมาประสมกันเป็นได้ทั้ง คำนาม  คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท และคำสันธาน ทั้งนี้เมื่อประสมแล้วก็อาจเป็นคำคนละชนิดกับคำที่นำมาประสมก็ได้ เช่น
ห่อหมก  (กริยา + กริยา)  = คำนาม หมายถึง อาหารชนิดหนึ่ง
2.คำซ้อน
          คือ การนำคำมูลที่มีความหมายคล้ายกันหรือตรงข้ามกันมารวมกัน เพื่อให้มีความหมายในลักษณะต่าง ๆ คำมูลที่นำมาซ้อนกันมีหลากหลายลักษณะ ดังนี้
·       คำไทยภาคกลางซ้อนกับคำไทยภาคกลาง
เช่น บ้านเรือน  หัวหู  หน้าตา
·       คำไทยภาคกลางซ้อนกับคำไทยภาษาถิ่น
เช่น เสื่อสาด  พัดวี  ทองคำ
·       คำไทยภาคกลางซ้อนกับคำจากภาษาอื่น
เช่น  แบบฟอร์ม  จิตใจ  โง่เขลา
·       คำต่างประเทศซ้อนกันเอง
เช่น สนุกสนาน  รูปภาพ
คำซ้อนมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับคำที่นำมาซ้อนกัน ดังนี้
2.1 คำซ้อนเพื่อความหมาย มี 3ลักษณะ ดังนี้
          ๒.๑.๑. การนำคำที่มีความหมายเหมือนกันมาซ้อนกัน เช่น ทรัพย์สิน  บ้านเรือน ใหญ่โต รูปภาพ
          ๒.๑.๒. การนำคำที่มีความหมายคล้ายกันมาซ้อนกัน เช่น เงินทอง  หน้าตา แขนขา  ดินฟ้าอากาศ
          ๒.๑.๓. การนำคำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาซ้อนกัน เช่น ผิดชอบชั่วดี   เป็นตายร้ายดี   
อนึ่ง คำซ้อนเพื่อความหมายดังที่กล่าวข้างต้น  อาจจะให้น้ำหนักความหมายของคำที่นำมาซ้อนแตกต่างกัน
·       เน้นความหมายของคำหน้า เช่น ความคิดความอ่าน 
·       เน้นความหมายที่คำหลัง เช่น ว่านอนสอนง่าย
·       เน้นความหมายที่คำหน้าและคำหลัง เช่น ผลหมากรากไม้
·       ความหมายทั้งสองคำเท่ากัน เช่น อำนาจวาสนา
·       ความหมายกว้างออก เช่น กินข้าวกินปลา (กินอาหาร)
·       ความหมายย้ายที่ เช่น เดือดเนื้อร้อนใจ (ความลำบาก)
·       ความหมายคงเดิม เช่น ใหญ่โตมโหฬาร
2.2 คำซ้อนเพื่อเสียง
          เป็นการนำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเสียงเดียวกันมาซ้อนกัน ซึ่งแต่ละเสียงอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ เช่น เอะอะ  จุกจิก  เกะกะ  อึดอัด  งอแง ฯลฯ
3.คำซ้ำ
          คือ คำที่เกิดจากการซ้ำเสียงคำเดียวกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยต้องเป็นคำชนิดเดียวกัน  ทำหน้าที่เดียวกัน  ความหมายเดียวกันเท่านั้น  อาจใช้ไม้ยมก (ๆ) แทนคำซ้ำ  ซึ่งเมื่อนำมาซ้ำกันแล้วจะมีความหมายหลากหลายลักษณะ ดังนี้
·       เน้นความหมายของคำเดิม
เช่น เสื้อตัวนี้สวยๆ
·       บอกความเป็นพหูพจน์
เช่น เด็กๆ กำลังเล่น
·       แยกเป็นส่วนๆ
เช่น  ใช้ปากกาให้เป็นด้ามๆ ไปสิ
·       บอกความไม่แน่นอน
เช่น คอยอยู่แถวๆ ปากซอย
·       ลดน้ำหนักของคำเดิมลง
เช่น ผมของเธอสีออกเทาๆ นะ
·       ความหมายสลับกัน
เช่น เดินเข้าๆ ออกๆ นั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้าน
·       บอกความต่อเนื่อง
เช่น ฝนตกหยิมๆ  น้ำไหลจ๊อกๆ
·       ความหมายเปลี่ยนจากคำเดิม (สำนวน)
เช่น งูๆ ปลาๆ  กล้วยๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมผัสในการแต่งกลอน

การเขียนประกาศ

การเล่นคำ