บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

ตัวอย่างข้อสอบ

ตัวอย่างข้อสอบ 10 พ.ศ. ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2549 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VUThVSFhKNHBldlk/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2550 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VYTFPSnNaZTljUlE/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2551 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9Vdm00TXI3cl9CRDQ/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2552 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VakUtdFh5TFZVT0k/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2553 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VTEVEaHhBdmNkdnM/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2554 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VeUdPalFwNjJfOGc/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2555 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VQjhGU3RiN3V3b2c/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2559 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VY1N6eGlxRm84MmM/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2560 https://drive.google.com/file/d/0B2W9VEfRNq9VSUk4Qmg0T1MyWlE/view ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปี 2561 https

วรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณคดีและวรรณกรรม           วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ส่วน การวิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาดมีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ โดยรวม  การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะและแสวงหาเหตุผลเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีอย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิดและคติสอนใจหรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อขอคนในสังคมอย่างไร  ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด เนื้อหาในวรรณคดี             เนื้อหาในวรรณคดี มีหลากหลาย อาจจำแนกได้ตามเนื้อหาและเรื่องราวดังต่อไปนี้         ๑.  วรรณคดีศาสนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างศรัทธาและสั่งสอนให้เข้าใจสาระของศาสนา เนื้อเรื่องมีทั้งที่นำมาจากศาสนาโดยตรงและที่นำเค้าโครงหรือแนวคิดของศาสนามาผูกเป็นเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ไตรภูมิพระร่วง สามัคคีเภ

การเล่นคำ

รูปภาพ
         การซ้ำคำ และ การเล่นคำ เป็น กลวิธีในการแต่ง ที่กวีนำมาใช้เพื่อให้เกิดความงามแห่งวรรณศิลป์ การซ้ำคำและการเล่นคำนั้นดูเผิน ๆ ไม่พิเคราะห์ให้ดีอาจจะคิดว่าเป็นวิธีการแบบเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง                 การซ้ำคำ เป็นกลวิธีที่ใช้คำคำเดียวกันซ้ำในคำประพันธ์ อาจจะวางไว้ติดกันแบบคำซ้ำ หรือวางไว้แยกจากกันแต่เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยความหมายของคำที่ซ้ำนั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง จะมีความหมายเหมือนกันทุกคำ เช่น รอนรอน สุริยะโอ้อัสดง รอนรอน จิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่ เรื่อยเรื่อย เรียมคอยแก้วคลับคล้ายเรียมเหลียว เรื่อยเรื่อย ลับเมรุลงค่ำแล้ว (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) ห้าม เพลิงไว้อย่าให้ มีควัน ห้าม สุริยะแสงจันทร์ ส่องไซร้ ห้าม อายุให้หัน คืนเล่า ห้าม ดั่งนี้ไว้ได้ จึงห้ามนินทา (โคลงโลกนิติ) สุด สายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล  สุด โสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง  สุด สุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง  สุด ฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน เป็น สุด สิ้น สุด ปัญญา สุด หา สุด ค้นเห็น สุด คิด (มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี)

สัมผัสในการแต่งกลอน

รูปภาพ
ลักษณะของกลอนชนิดต่างๆ              กลอนสุภาพ บทหนึ่งมี ๔ วรรค กลอน ๒ เรียกว่า ๑ บาท หรือ ๑  คำกลอน ฉะนั้นกลอนสุภาพบทหนึ่ง จึงมี ๒ บาท หรือ ๒ คำกลอน บทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทที่สองเรียกว่า บาทโท สำหรับวรรคทั้งสี่ของกลอนยังมีชื่อเรียกวรรค ตามลักษณะการบังคับสัมผัส และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคต่างกัน ดังผังภูมิต่อไปนี้             วรรคแรก     เรียกว่า วรรคสลับ หรือ วรรคสดับ เป็นวรรคขึ้นต้น ทำหน้าที่ส่งสัมผัสอย่างเดียวคำสุดท้ายใช้ได้ทุกเสียีง แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ             วรรคสอง เรัยกว่า วรรครับ ทำหน้าที่สัมผัสจากวรรคสลับ และส่งสัมผัสไปยังวรรครองคำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญ              วรรคที่สาม เรียกว่า วรรครอง ทำหน้าที่่รับสัมผัสจากวรรครับ และส่งสัมผัสไปยังวรรคส่งคำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญและตรี              วรรคที่สี่ เรียกว่า วรรคส่ง ทำหน้าที่รับสัมผัสจากวรรครอง และส่งสัมผัสระหว่างบทไปยังวรรครับของบทจ่อไป คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา  กลอนอ่านทั้ง ๘ ชนิดมีลักษณะดังนี้ กลอนสี่ กลอนสี่   เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1