วรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณคดีและวรรณกรรม
          วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ส่วน การวิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาดมีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ โดยรวม การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะและแสวงหาเหตุผลเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีอย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิดและคติสอนใจหรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อขอคนในสังคมอย่างไร ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด

เนื้อหาในวรรณคดี
            เนื้อหาในวรรณคดี มีหลากหลาย อาจจำแนกได้ตามเนื้อหาและเรื่องราวดังต่อไปนี้
        ๑. วรรณคดีศาสนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างศรัทธาและสั่งสอนให้เข้าใจสาระของศาสนา เนื้อเรื่องมีทั้งที่นำมาจากศาสนาโดยตรงและที่นำเค้าโครงหรือแนวคิดของศาสนามาผูกเป็นเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ไตรภูมิพระร่วง สามัคคีเภทคำฉันท์ ธรรมาธรรมะสงคราม ลิลิตนารายณ์สิบปาง เป็นต้น
        ๒. วรรณคดีคำสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมทางศาสนา เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน โคลงพาลีสอนน้อง เป็นต้น
        ๓. วรรณคดีขนบธรรมประเพณีและพิธีกรรม มี ๒ ลักษณะ คือ เป็นบทที่นำไปใช้ในการประกอบพิธี มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่ไพเราะ สร้างอารมณ์ให้ความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพิธี เช่น กาพย์เห่เรือ โองการแช่งน้ำ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง มหาชาติกลอนเทศน์ เป็นต้น
        ๔. วรรณคดีประวัติศาสตร์ มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกสงคราม การสดุดีวีรชนที่กล้าหาญ และเล่าถึงเหตุการณสำคัญที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ลิลิตรชยวนพ่าย ลิลิตตะเลงพ่าย เสภาพระราชวงศาวดารชร โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น
        ๕. วรรณคดีบันทึกการเดินทาง มักมีเนื้อหาพรรณนาความรักความอาลัยของกวีที่ต้องจากนางอันเป็นที่รัก และเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทาง การบรรยายสถาพสังคม วัฒนธรรมรวมทั้งการแสดงทัศนะต่อเหตุการณ์ที่กวีพบเห็นตลอดเส้นทาง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศพระบาท นิราศนครสวรรค์ นิราศสุพรรณ เป็นต้น
        ๖. วรรณคดีเพื่อความบันเทิง มักมีเนื้อหามาจากนิทานประเภทจักรๆวงศ์ๆหรือนิยายท้องถิ่นที่มีเค้าเรื่องจริง เนื้อหาซึ่งเป็นนิทานนั้นกับการแต่งเป็นวรรณคดี เพราะมีครบทุกอรรถรสและอารมณ์ และมักแต่งเพื่อใช้ประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา สังข์ทอง รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน อิเหนา เป็นต้น  

ความรู้เรื่องวรรณคดีไทย
1. กลบท คือ คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เป็นการเล่นคำ เช่น กลอนกลบทสะบัดสะบิ้ง (ในแต่ละวรรคใช้คำได้ตั้งแต่ 9-10 คำ สัมผัสในมี คู่ อยู่ที่ คำท้ายของวรรค ให้คู่ที่ เป็นคำซ้ำกัน เช่น สุด__สุด คู่ที่ เป็นคำสัมผัสอักษร

2. กวี ผู้แต่งหนังสือวรรณคดีไทยแบ่งกวีออกเป็น ประเภท คือ
          2.1 อรรถกวี หมายถึง กวีซึ่งแต่งเรื่องราวจากเหตุการณ์และความเป็นจริงเช่น นิราศ
          2.2 จินตกวี หมายถึง กวีที่แต่งเรื่องโดยคิดโครงเรื่องเอง เช่น พระอภัยมณี
          2.3 สุตกวี หมายถึง กวีที่แต่งเรื่องจากที่ได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านมา เช่น รามเกียรติ์ 
          2.4 ปฏิภาณกวี หมายถึง กวีที่ประพันธ์บทร้อยกรองได้ฉับพลันและสามารถโต้เป็นบทร้อยกรองสดได้ เช่น ศรีปราชญ์ สุนทรภู่

3. ฉันทลักษณ์ คือ ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง

4. นามนัย คือ การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งๆแทนสิ่งนั้นๆทั้งหมด เช่น ฉัตร หมายถึงความเป็นกษัตริย์ เก้าอี้ คือ ตำแหน่ง

5. นัยประหวัด คือ การใช้คำเป็นนัยเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้นึกถึงความหมายของคำๆนั้นก่อนแล้วจึงนำมาประกอบเพื่อให้เข้าใจในความหมายใหม่ของสำนวน ผู้รับสารจึงควรรู้จักความหมายของคำนั้นมาก่อนจึงจะทำให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น “สนิมมันกัดกินหัวใจของเขาจนอ่อนล้าหมดกำลังใจที่จะทำอะไรอีกต่อไป”

6. แนวคิด คือ ความคิดหลักของกวีหรือผู้เขียนที่มีอยู่ในเรื่องที่เขียน เช่น แนวคิดเรื่อง “ผู้ดี” คือ ผู้ที่ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ

7. รสวรรณคดี คือ อารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านวรรณคดีที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้อ่านวรรณคดี
          7.1 รสวรรณคดีแบบไทย มี รส ได้แก่ เสาวรจณี(บทชมโฉม ชมความงาม) นารีปราโมทย์(บทเกี้ยวพาราสีพิโรธวาทัง(บทแสดงความโกรธ เกรี้ยวกราดสัลลาปังคพิสัย(บทคร่ำครวญ ตัดพ้อต่อว่า)
         7.2 รสวรรณคดีแบบสันสกฤต มี รส ได้แก่
7.2.1 ศฤงคารรส(รสแห่งความรัก แบ่งเป็นความรักของผู้ที่อยู่ห่างจากกันซึ่งอาจจะพบรักแล้วแต่ยังไม่รู้ความในใจของกันและกันและความรักของผู้ที่อยู่ใกล้กัน)
7.2.2 รุทรส(รสแห่งความโกรธหรือการกระทำที่รุนแรงของตัวละครทำให้ผู้อ่านรับรู้ความ
ทุกข์ของตัวละครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือรองรับอารมณ์อยู่)
7.2.3 วีรรส(รสแห่งความกล้า ซึ่งอาจเป็นการต่อสู้ การเสียสละ การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้อง)
                        7.2.4 พีภัตสรส(รสแห่งความน่ารังเกียจ เบื่อระอาและน่ากลัว)                                        
                        7.2.5 ศานตรส(รสแห่งความสงบ)
7.2.6 หาสยรส(รสแห่งความสนุกสนาน ขบขัน แบ่งเป็นการพูดหรือทำให้ผู้อื่นขบขันและความรู้สึกที่ตัวละครขบขันขึ้นมาเองหรือมีคนทำให้ตัวละครขบขัน)
7.2.7 กรุณารส(เป็นอารมณ์ร่วมของผู้อ่านที่เห็นผู้อื่นทุกข์ก็เกิดความสงสารอยากจะช่วย)
7.2.8 ภยานกรส(รสแห่งความหวาดกลัว ผู้อ่านจะรับรู้ความหวาดกลัวของตัวละครและในบางครั้งก่อให้เกิดรสวรรณคดีอย่างอื่นตามมา เช่นเกิดความสงสาร)
7.2.9 อัทภูตรส(รสแห่งความอัศจรรย์ พิศวงที่เกิดจากการที่ได้เห็นในสิ่งที่เป็นทิพย์ วิมานการไปเที่ยวในสวรรค์วิมาน การได้รับสิ่งที่ปรารถนา การไปเที่ยวในสถานที่ที่งดงาม)
8. เล่นคำ การใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำอักษร เพื่อให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจและได้ความหมายที่ต่างกันในคำคำเดียว เช่น นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนวันพี่จากสามสุดามา(แก้ว หมายถึง นกและต้นไม้)

9. วรรณคดี คือ วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี

10. วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือ

11. วิจักษ์วรรณคดี คือ การทำความเข้าใจในวรรณคดีที่อ่านอย่างแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดี

12. วิจารณ์วรรณคดี คือ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี

13. โวหาร คือชั้นเชิงหรือสำนวนในการแต่งเพื่อก่อให้เกิดจินตภาพ ความรู้สึกและอารมณ์แก่ผู้อ่าน บางที่เรียกว่า “ภาพพจน์”

14. ไวพจน์ คือ คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน

15. ศุภมัสดุ เป็นคำขึ้นต้นลงท้ายในประกาศหรือข้อความสำคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ

16. บุคลาธิษฐาน(บุคคลวัต,บุคคลสมมุติเป็นการสมมุติให้สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นเหมือนมนุษย์

17. ปฏิพากย์ เป็นคำที่ความหมายตรงกันข้ามอยู่ในบทประพันธ์

18. สัญลักษณ์ คือคำที่กำหนดขึ้นใช้แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเป็นที่รับรู้กันในสังคมกลุ่มนั้นๆ เช่น สีขาว หมายถึง ความริสุทธิ์

19. สัทธพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ

20. อธิพจน์ คือ คำหรือสำนวนที่กล่าวเกินจริง บางทีเรียกว่า “อติพจน์”

21. อัพภาส การใช้คำซ้ำโดยการกร่อนคำ

22. อุปมา สำนวนหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจน มักใช้คำว่า ดัง ดุจ แม้น เพี้ยง 
เหมือน ราว ปาน ประหนึ่ง

23. อุปลักษณ์ ลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียง นิยมใช้คำว่า คือ เป็น

24.วรรณคดี
          24.1 เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ รูปแบบ กลอนเสภา
          24.2 สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ความเรียงอธิบาย
          24.3 กาพย์เห่เรือ ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ไชยเชษฐ์สุริวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้งรูปแบบ บทเห่เรือ ตอนแต่ละตอนนำด้วยโคลงสี่สุภาพ บทและตามด้วยกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน
          24.4 สามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง ชิต บุรทัต รูปแบบ บทร้อยกรองประเภทฉันท์
          24.5 ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ 1พญาลิไทย รูปแบบ เป็นร้อยแก้วที่ใช้ถ้อยคำมีจังหวะและมีสัมผัสคล้องจอง
         24.6 กาญจนกานท์(บทร้อยกรองอันสูงค่า มี 10 บท กวี ท่าน)
         24.7 พระครูวัดฉลอง(สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)นิทานร้อยแก้ว
         24.8 นิราศพระบาท(สุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ในโอกาสที่ได้ตามเสด็จพระภิกษุพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ซึ่งเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี เมื่อพ.. 2350
         24.9 สายใยธรรมชาติคือสายใยชีวิต(นงพงา สุขวนิช)เป็นสารคดี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสมบัติของมนุษยชาติ
         24.10 มอม(หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช)เป็นร้อยแก้วประเภทเรื่องสั้น
         24.11 พระบรมราโชวาท(รัชกาลที่ 5) เพื่อพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศครั้งทรงพระเยาว์ เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ดีงามในขณะที่ศึกษาหาความรู้ที่ต่างประเทศ
         24.12 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี)เพื่อแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยเทียบกับกวีของจีนซึ่งแสดงถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนาที่ดำเนินมาไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะต่างกันถึงพันปี
         24.13 มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(เจ้าพระยาพระคลัง(หน)) ให้คติธรรมเรื่องการบริจาคทานอันเป็นสิ่งประเสริฐ
         24.14 ลิลิตตะเลงพ่าย(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
        24.15 บทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัธนะพาธา (รัชกาลที่ 6) บทละคร
        24.16 คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์(รัชกาลที่ 5) กาพย์ยานี 11
        24.17 โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน (รัชกาลที่ 6) เป็นบทความที่มีสำนวนคมคาย อ่านเข้าใจง่าย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมผัสในการแต่งกลอน

การเขียนประกาศ

การเล่นคำ