การเล่นคำ

         การซ้ำคำและการเล่นคำเป็นกลวิธีในการแต่งที่กวีนำมาใช้เพื่อให้เกิดความงามแห่งวรรณศิลป์ การซ้ำคำและการเล่นคำนั้นดูเผิน ๆ ไม่พิเคราะห์ให้ดีอาจจะคิดว่าเป็นวิธีการแบบเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง                
การซ้ำคำ เป็นกลวิธีที่ใช้คำคำเดียวกันซ้ำในคำประพันธ์ อาจจะวางไว้ติดกันแบบคำซ้ำ หรือวางไว้แยกจากกันแต่เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยความหมายของคำที่ซ้ำนั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง จะมีความหมายเหมือนกันทุกคำ เช่น
รอนรอนสุริยะโอ้อัสดงรอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้วคลับคล้ายเรียมเหลียวเรื่อยเรื่อยลับเมรุลงค่ำแล้ว(กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยะแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึงห้ามนินทา
(โคลงโลกนิติ)
สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน เป็นสุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด
(มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี)

การเล่นคำ เป็นกลวิธีที่ใช้คำคำเดียวกันซ้ำในคำประพันธ์ แต่ความหมายของคำจะแตกต่างกันไป เช่น
ถึงบางพลัดยิ่งอนัตอนาถจิตนิ่งพินิจนึกน่าน้ำตาไหลที่พลัดนางร้างรักมาแรมไกล ประเดี๋ยวใจพบนางริมทางจร(เล่นคำว่า พลัด บางพลัด= ชื่อสถานที่ พลัดนาง=พลัดพรากจากนาง)
ตัวอย่างข้อสอบ
๑. ซ่อนกลิ่นกลิ่นแก้วซ่อน นาสา เรียมฤๅ    
    ตาดว่าตาดพัสตรา        หนุ่มเหน้า    
    สลาลิงเล่ห์ซองสลา      นุชเทียบ ถวายฤๅ    
    สวาดดั่งเรียมสวาทเจ้า   จากแล้วหลงครวญ
คำประพันธ์ข้างต้นนี้มีความงามของภาษาตรงกับข้อใด
ก. เสียงสัมผัส
ข. การเล่นคำ
ค. การซ้ำคำ
ง. พรรณนาเห็นภาพพจน์
เฉลย คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ข โคลงสี่สุภาพบทนี้เล่นคำดังนี้ ดอกกลิ่น - กลิ่นกายนางตาด(ชื่อต้นไม้)- ผ้าตาด ต้นสลาลิง (หมากลิง) - สลา(หมาก) ต้นสวาด - สวาท(ความรักใคร่เอ็นดู)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมผัสในการแต่งกลอน

การเขียนประกาศ