คำยืมจากภาษาต่างประเทศ


คำยืมจากภาษาต่างประเทศ
1.ภาษาบาลี
          ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล
หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี
1.       คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
2.       พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
3.       พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม
4.       พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม
5.       พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
6.       พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา เป็นต้น
2.ภาษาสันสกฤต
          ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีวิภัตดิปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี
การสร้างคำในภาษาสันสกฤต
1.       การสมาส (ดูภาษาบาลี) เช่น ศิลป + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์, มานุษย + วิทยา = มานุษยวิทยา
2.       การสนธิ (ดูภาษาบาลี) เช่น คณ + อาจารย์ = คณาจารย์, ภูมิ + อินทร์ = ภูมินทร์
3.       การใช้อุปสรรค คือ การเติมพยางค์ประกอบหน้าศัพท์เป็นส่วนขยายศัพท์ ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
ข้อสังเกต
1.       ภาษาสันสกฤตจะใช้สระประสม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา คำประสมสระไอเมื่อเป็นคำไทยใช้สระแอ (ไวทย - แพทย์)
2.       ภาษาสันสกฤตจะใช้พยัญชนะ ศ ษ ฑ (บาลีใช้ ส, ฬ) เช่น กรีฑา, ศิลป, ษมา
3.       ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะประสมและ รร ใช้ เช่น ปรากฏ, กษัตริย์ ; ครรภ์, จักรวรรดิ
3.ภาษาเขมร
          ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
ลักษณะภาษาเขมร
1.       ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด คำส่วนใหญ่มีเพียง 1 - 2 พยางค์ ใช้อักษรขอมหวัด มีพยัญชนะ 33 ตัว เหมือนภาษาบาลี คือ วรรคกะ ก ข ค ฆ ง , วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ วรรคฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ , วรรคตะ ต ถ ท น ธ วรรคปะ ป ผ พ ภ ม , เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ
2.       ภาษาเขมรไม่มีวรรณยุกต์แต่อิทธิพลคำยืมบางคำให้เขมรมีรูปวรรณยุกต์ (+) ใช้
3.       ภาษาเขมรมรสระจม 18 รูป สระลอย 18 รูป แบ่งเป็นสระเดี่ยวยาว 10 เสียง สระผสม 2 เสียง ยาว 10 เสียง สระเดี่ยวสั้น 9 เสียง สระประสม 2 เสียง สั้น 3 เสียง
4.       ภาษาเขมรมีพยัญชนะควบกล้ำมากมาย มีพยัญชนะควบกล้ำ 2 เสียง ถึง 85 หน่วย และพยัญชนะควบกล้ำ 3 เสียง 3 หน่วย


4.ภาษาจีน
          ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทยไม่มีเสียงควบกล้ำ มีเสียงสูงต่ำ มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทยต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยา
ลักษณะภาษาจีน
          ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์ใช้ เช่นเดียวกันเมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย ซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถ ออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย(พี่ชาย), ซ้อ(พี่สะใภ้), เจ๊(พี่สาว),
           นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา และมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วยประมวลคำยืมจากภาษาจีนที่ใช้บ่อย
ข้อสังเกต
1.       นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
2.       เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
3.       เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
4.       เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น
5.ภาษาอังกฤษ
          ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน
ลักษณะภาษาอังกฤษ
1.       ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำหรือเติมท้ายศัพท์ในลักษณะต่างๆ กันเพื่อแสดงลักษณะไวยากรณ์
2.       คำในภาษาอังกฤษมีการลงน้ำหนัก ศัพท์คำเดียวกันถ้าลงน้ำหนักต่างพยางค์กันก็ย่อมเปลี่ยนความหมายและหน้าที่ของคำ
3.       ภาษาอังกฤษมีตัวอักษร 26 ตัว สระเดี่ยว(สระแท้) 5 ตัว สระประสมมากมาย
4.       ภาษาอังกฤษมีพยัญชนะควบกล้ำมากมาย ทั้งควบกล้ำ 2 เสียง 3 เสียง 4 เสียง ปรากฏได้ทั้งต้นและท้ายคำ



6.ภาษามลายู
          ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์
7.ภาษาชวา
          ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาคำติดต่ออยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมผัสในการแต่งกลอน

การเขียนประกาศ

การเล่นคำ