การเล่นเสียง

การเล่นเสียงสัมผัส

เป็นกลวิธีการแต่งอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความงามในแง่ของวรรณศิลป์ การเล่นเสียงสัมผัสนั้น ได้แก่

๑. การเล่นเสียงสัมผัสสระ ได้แก่ คำที่มีเสียงคล้องจองกันด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)เช่นเจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่นเหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

๒. การเล่นสัมผัสพยัญชนะ หรือสัมผัสอักษร ได้แก่ คำที่คล้องจองกันด้วยเสียงพยัญชนะต้น เช่นเมื่อมั่งมีมากมายมิตรหมายมองเมื่อมัวหมองมิตรมองหม่นเหมือนหมูหมาเมื่อไม่มีมิตรหมางเมินไม่มองมาเมื่อมอดม้วยแม้หมูหมาไม่มามอง

๓. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ การใช้เสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ในคำที่มีพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกดเหมือนกัน โดยไล่เรียงไปตามระดับเสียงวรรณยุกต์ เช่นบัวตูมตุมตุ่มตุ้ม กลางตมสูงส่งทงทานลม ล่มล้มแมลงเม้าเม่าเมาฉม ซมซราบรูรู่รู้ริมก้ม พาดไม้ไทรทองเขาขันคูคู่คู้ เคียงสองเยื้องย่างนางยูงทอง ท่องท้องทิวทุ้งทุ่งทุงมอง มัจฉพราศเทาเท่าเท้ายางหย้อง เลียบลิ้มริมทาง

๔. การสัมผัสใจ ได้แก่ คำที่ไม่มีเสียงคล้องจองกันทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ แต่ทว่าเลือกสรรใช้ถ้อยคำได้ไพเราะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ สัมผัสใจนี้ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจมากยิ่งกว่าสัมผัสสระหรือสัมผัสพยํญชนะ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ให้ความสำคัญกับสัมผัสใจมาก และมักจะยกตัวอย่างด้วยกลอนจากขุนช้างขุนแผนบทนี้เสมอเงยหน้าขึ้นเถิดเจ้าพิมเพื่อน แก้มเปื้อนมาจะเช็ดน้ำตาให้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมผัสในการแต่งกลอน

การเขียนประกาศ

การเล่นคำ